วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สโมสรฟุตบอลเชลซี
สโมสรฟุตบอลเชลซี (อังกฤษ: Chelsea Football Club) เป็นทีมฟุตบอลในอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) เคยได้แชมป์ลีกสูงสุดมาแล้ว 4 ครั้ง รวมฤดูกาลล่าสุด (2009-10) เป็นแชมป์ เอฟเอคัพ 9 ครั้ง แชมป์ ลีกคัพ 8 ครั้ง, แชมป์ ยูฟ่าคัพ 10 ครั้ง และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 1 ครั้ง สนามเหย้าของทีมคือ สแตมฟอร์ดบริดจ์ จุผู้ชมได้ 42,449 คน ตั้งอยู่ในเขตชุมชนฟูแลมบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองลอนดอน ทีมฟุตบอลเชลซีไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตชุมชนเชลซี แต่ตั้งอยู่บนถนนฟูลัม ซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างเขตฟูแลมและเขตเชลซี


ประวัติ


สโมสรฟุตบอลเชลซีก่อตั้งเมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) ที่ ผับชื่อเดอะไรซิงซัน ตรงข้ามกับสนามแข่งปัจจุบันบนถนนฟูแลม และได้เข้าร่วมกับลีกฟุตบอลในเวลาต่อมา เชลซีเริ่มมีชื่อเสียงภายหลังจากที่ได้รับชัยชนะใน ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 1954–55
ปี 1996 แต่งตั้ง รุด กุลลิท (Ruud Gullit) เป็นทั้งผู้เล่นและผู้จัดการทีม เชลซีสามารถคว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ มาครองได้ในยุคของกุลลิทนี้
ปี 1997 เปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น จิอันลูก้า วิอัลลี่ ( Gianluca Vialli) โดยเป็นทั้งผู้เล่นและผู้จัดการทีมในช่วงแรก ในยุคของวิอัลลี่นี้สามารถทำทีมได้แชมป์ลีกคัพ และ ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพและสามารถเข้าถึงรอบรอง"ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ"ได้เป็นปีทีสองติดต่อกันก่อนที่จะแพ้รีล มายอร์ก้าในปีนั้นทีมที่ได้แชมป์คือ ลาซิโอทีมจากอิตาลีไป ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่มีการจัดการแข่งขัน "ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ"
ปี 2000 จิอันลูก้า วิอัลลี่ถูกปลดออกจากผู้จัดการทีมและแทนที่ด้วย เคลาดิโอ รานิเอรี (Claudio Ranieri) เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ ในยุคของรานิเอรีนั้น เชลซีมีผลงานติดห้าอันดับแรกของของพรีเมียร์ลีกอย่างสม่ำเสมอ
มิถุนายน ปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) โรมัน อบราโมวิช เข้าซื้อกิจการต่อจากเคน เบตส์ (Ken Bates) ในราคา 140 ล้านปอนด์ หลังการเข้าซื้อกิจการของมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย เคลาดิโอ รานิเอรีซึ่งเป็นผู้จัดการทีมในขณะนั้นยังคงได้คุมทีมต่อไป ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทีมอย่างมากมาย มีการซื้อนักเตะชื่อดังหลายรายเข้ามาเสริมทีมโดยใช้เงินไปอีกมากมายกว่าร้อยล้านปอนด์ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลแข่งขันเชลซีไม่คว้าแชมป์ใดมาได้เลย สามารถทำอันดับ 2 ของพรีเมียร์ลีก และ เข้าสู่รอบ 4 ทีมสุดท้ายยูฟ่าแชมเปี้ยนลีก เมื่อจบฤดูกาลแรกหลังจากเข้าซื้อกิจการของมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ทางทีมจึงได้ปลด เคลาดิโอ รานิเอรี่ ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม และได้เซ็นสัญญาให้ โชเซ่ มูรินโญ่ ( José Mourinho) เป็นผู้จัดการทีมต่อมา
ปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) เปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น โชเซ่ มูรินโญ่ ซึ่งสร้างสีสันให้กับวงการฟุตบอลอังกฤษในสมัยนั้นเป็นอย่างมากกับบทสัมภาษณ์และทัศนะของ มูริญโญ่เอง
ปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) ได้เป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกครั้งแรกหลังจาก โรมัน อบราโมวิช เข้าซื้อกิจการของสโมสร และครบร้อยปีจากการตั้งสโมสร
ปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) ได้เป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกอีกครั้งสองสมัยติดต่อกัน
20 กันยายน พ.ศ. 2550 มูรินโญ่ถูกไล่ออกจากตำแหน่ง หลังจากทำผลงานไม่ดี 3 นัดติดต่อกัน แพ้ แอสตันวิลลา 0-2 เสมอแบล็กเบิร์นโรเวอร์ส 0-0 และไล่ตีเสมอโรเซนบอร์ก 1-1 [2] และเปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น อัฟราม แกรนท์ (Afram Grant)
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สิ้นสุดฤดูกาลแรกของ อัฟราม แกรนท์ ไม่สามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ หลังจากรับงาน อัฟราม แกรนท์ พาทีมเชลซีต่อสู้แย่งแชมป์กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จนถึงนัดสุดท้าย แต่ไม่สามารถทำได้โดยนัดสุดท้ายทำได้เพียงเสมอกับ โบลตัน (Bolton) 1-1 โดยถูกตีเสมอในนาทีสุดท้ายของการแข่งขัน สิ้นสุดฤดูกาลเชลซีทำแต้มได้ 85 แต้ม โดยแชมป์ (แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด) ทำได้ 87 แต้ม
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เข้าชิงแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกของสโมสร กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่กรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย ในเวลา 120 นาทีเสมอกัน 1-1 ต้องเตะลูกจุดโทษตัดสิน เชลซีแพ้ไป 10-9 ประตู
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผู้บริหารสโมสรมีมติปลดอัฟราม แกรนท์ ออกจากตำแหน่ง
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 สโมสรเชลซีแต่งตั้ง หลุย เฟลิปเป้ สโกลารี่ ขึ้นเป็นกุนซือเชลซีอย่างเป็นทางการ
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 สโกลารี่ทำผลงานได้ไม่ดี หลังจากนำทีมเสมอต่อ ฮัลล์ 1-1 ตามหลังแมนฯ ยูผู้นำอยู่ 7 แต้ม ผู้บริหารสโมสรได้มีมติปลดออกจากตำแหน่ง
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มติสโมสรแต่งตั้ง กุส ฮิดดิ้งค์ กุนซือชาวฮอลแลนด์ผู้จัดการทีมชาติรัสเซียเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ โดยฮิดดิ้งค์จะทำหน้าที่ควบ 2 ตำแหน่ง ทั้งผู้จัดการทีมชาติรัสเซียและผู้จัดการเชลซี และกุส ฮิดดิ้งค์ นี้พาเชลชี คว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ สมัยที่ 5 โดยเอาชนะเอฟเวอร์ตันในนัดชิงชนะเลิศ
1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สโมสรเชลซีแต่งตั้ง คาร์โล อันเชล็อตติ ขึ้นเป็นกุนซือเชลซีอย่างเป็นทางการ
ปี พ.ศ. 2553 ได้แชมป์พรีเมียร์ชิพ นับเป็นแชมป์ลีกสูงสุดสมัยที่ 4
ปี พ.ศ. 2553 คว้า ดับเบิ้ลแชมป์ เป็นครั้งแรก ของสโมสร โดยคว้า แชมป์ พรีเมียร์ลีก และ FA-CUP
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 คาร์โล อันเชล็อตติ ถูกปลดจากตำแหน่งหลังทำผลงานฤดูกาลที่ 2 ของเขากับเชลซีได้น่าผิดหวัง โดยเชลซีไม่สามารถคว้าแชมป์ได้เลย[3]
22 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สโมสรประกาศแต่งตั้ง อังเดร วิลลาส-โบอาส โค้ชชาวโปรตุเกสเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่[4]
4 มีนาคม พ.ศ. 2555 อังเดร วิลลาส-โบอาส ถูกปลดออกจากตำแหน่ง เนื่องจากผลงานไม่ดีตามการคาดหวัง และแต่งตั้งให้ โรแบร์โต ดิ มัตเตโอ เป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวจนจบฤดูกาล[5]
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 โรแบร์โต ดิ มัตเตโอ ผู้จัดการทีมชั่วคราวของเชลซีได้นำทีมคว้าแชมป์ เอฟเอคัพ ได้เป็นสมัยที่ 7 ของสโมสร โดยชนะ สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ไป 2-1 จากลูกยิงของ รามีเรส และ ดร็อกบา[6]
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เชลซีคว้าแชมป์ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ได้เป็นสมัยแรก โดยชนะ สโมสรฟุตบอลบาเยิร์นมิวนิก ในการดวลจุดโทษไป 4-3 โดยเสมอในเวลา 1-1 ซึ่งเป็นแชมป์ที่สองในฤดูกาล 2011-12 ของเชลซี[7]
21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เชลซีไม่ชนะใครมา 5นัดติดต่อกัน ทั้งในพรีเมียร์ลีกและยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โรแบร์โต ดิ มัตเตโอ ผู้จัดการทีมของเชลซี จึงถูกปลดออกจากตำแหน่งทันทีหลังจากแพ้ให้กับ สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ด้วยสกอร์ 3-0 ในรอบแบ่งกลุ่มยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก สาเหตุที่ทำให้ถูกปลดอย่างรวดเร็วเนื่องจาก โรมันอับราโมวิช ประธานสโมสร ไม่ชอบสไตล์การทำทีมของ โรแบร์โต ดิ มัตเตโอ ในวันรุ่งขึ้น สโมสรประกาศแต่งตั้ง ราฟาเอล เบนีเตซ โค้ชชาวสเปนเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่[8]
สแตมฟอร์ดบริดจ์



สนามฟุตบอลสแตมฟอร์ดบริดจ์
สแตมฟอร์ดบริดจ์ (Stamford Bridge) เป็นสนามฟุตบอลแห่งเดียวของเชลซีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาตั้งอยู่ในเขตฟูแลม ในลอนดอน โดยเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2420 โดยในช่วง 28 ปีแรกที่เปิดใช้ ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสนามกรีฑาด้วย สนามสแตมฟอร์ดบริดจ์ออกแบบโดยสถาปนิกชาวสก็อต จุคนได้กว่า 42,000 คน
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2556
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
No.                  ตำแหน่ง          ผู้เล่น
1          สาธารณรัฐเช็ก            GK       ปีเตอร์ เช็ค (รองกัปตันทีมที่ 2)
2          เซอร์เบีย          DF       บรานิสลาฟ อีวานอวิช
3          อังกฤษ            DF       แอชลีย์ โคล
4          บราซิล            DF       ดาวิด ลูอีซ
5          กานา   MF      มิคาเอล เอสเซียง
7          บราซิล            MF      รามีเรส
8          อังกฤษ            MF      แฟรงก์ แลมพาร์ด (รองกัปตันทีม)
9          สเปน   FW      เฟร์นันโด ตอร์เรส
10        สเปน   MF      ควน มาตา
11        บราซิล            MF      ออชการ์
12        ไนจีเรีย            MF      จอห์น โอบี มิเกล
14        เยอรมนี            FW      อันเดร เชือร์เริล
No.                  ตำแหน่ง          ผู้เล่น
15        เบลเยียม          MF      เควิน เดอ บรุน
16        เนเธอร์แลนด์   MF      มาร์โค ฟาน กินเคล
17        เบลเยียม          MF      เอแดน อาซาร์
18        เบลเยียม          FW      โรเมลูว์ ลูว์กากูว์
19        เซเนกัล            FW      เดมบา บา
22        บราซิล            MF      วิลเลียน
23        ออสเตรเลีย      GK       มาร์ก ชวาร์เซอร์
24        อังกฤษ            DF       แกรี เคฮิลล์
26        อังกฤษ            DF       จอห์น เทอร์รี (กัปตันทีม)
28        สเปน   DF       เซซาร์ อัซปีลีกูเอตา
29        แคเมอรูน         FW      ซามูแอล เอโต
34        อังกฤษ            DF       ไรอัน เบอร์ทรานด์
40        โปรตุเกส         GK       เอนริเก้ อิลาริโอ
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
No.                  ตำแหน่ง          ผู้เล่น
6          สเปน   MF      อูรีออล รูเมว (ยืมตัวไป บาเลนเซีย จนถึง 30 มิถุนายน 2014)
21        เยอรมนี            MF      มาร์โก มาริน (ยืมตัวไป เซบียา จนถึง 30 มิถุนายน 2014)
31        ฝรั่งเศส            MF      กาแอล กากูตา (ยืมตัวไป วีเทสเซ จนถึง 30 มิถุนายน 2014)
No.                  ตำแหน่ง          ผู้เล่น
38        เนเธอร์แลนด์   DF       ปาทริค ฟาน อานโฮลท์ (ยืมตัวไป วีเทสเซ จนถึง 30 มิถุนายน 2014)
13        เบลเยียม          GK       ธีบอต์ กูร์ตัวส์ (ถูกยืมตัวไป อัตเลตีโกมาดริด จนถึง 30 มิถุนายน 2014)
17        บราซิล            FW      ลูกัส เปียซง (ถูกยืมตัวไป วีเทสเซ จนถึง 30 มิถุนายน 2014)
ไนจีเรีย            FW      วิกเตอร์ โมเซส (ถูกยืมตัวไป ลิเวอร์พูล จนถึง 30 มิถุนายน 2014)}}
ผู้เล่นชุดสำรอง
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
No.                  ตำแหน่ง          ผู้เล่น
—        อังกฤษ            GK       จามาล แบล็คแมน
—        อังกฤษ            GK       แซม วอล์คเกอร์
—        อังกฤษ            DF       นาธาเนียล ชาโลบาห์
—        อังกฤษ            DF       บิลลี คลิฟฟอร์ด
—        อังกฤษ            DF       อาซิซ ดีน-คอนเทห์
—        อังกฤษ            DF       ทอดด์ เคน
—        อังกฤษ            DF       อาร์เชนจ์ กูมู
—        กานา   DF       ดาเนียล ปาปโปอี
—        สวีเดน MF      อามิน อัฟเฟน
No.                  ตำแหน่ง          ผู้เล่น
—        อังกฤษ            MF      เจมส์ แอชตัน
—        สาธารณรัฐไอร์แลนด์  MF      คอนอร์ คลิฟฟอร์ด
—        เบลเยียม          MF      ธอร์แกน อาซาร์
—        อังกฤษ            MF      จอร์จ ซาวิล
—        อังกฤษ            FW      ปาทริค แบมฟอร์ด
—        อังกฤษ            FW      อดัม ฟิลิป
—        บราซิล            FW      ลูคัส ปีอาซง
—        อุรุกวัย FW      ฮอน ปีเรซ
อดีตผู้เล่นที่โด่งดัง

(นับปีที่เข้ามาในสโมสร)
ทศวรรษที่ 1990
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
No.                  ตำแหน่ง          ผู้เล่น
2          โรมาเนีย                      แดน เปเตรสคู
3          อังกฤษ                        แกรม เลอโซ
5          ฝรั่งเศส                        ฟร้องซ์ เลอเบิฟ
11        อังกฤษ                        เดนนิส ไวส์ (อดีตกัปตันทีม)
9          อิตาลี               จิอันลูกา วิอัลลี่
25        อิตาลี               จิอันฟรังโก้ โซล่า
19        นอร์เวย์                        ทอเร อังเดร โฟล
6          ฝรั่งเศส                        มาแซล เดอไซญี่ (อดีตกัปตันทีม)
22        ไอซ์แลนด์                   ไอเดอร์ กุ๊ดยอห์นเซน
36        เดนมาร์ก                     เจสเปอร์ กรุนชา
9          เนเธอร์แลนด์               จิมมี่ ฟลอยด์ ฮัสเซลเบงค์
16        อิตาลี               โรแบร์โต้ ดิ มัทเทโอ
23        อิตาลี               คาร์โล คูดิชินี่

ทศวรรษที่ 2000
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
No.                  ตำแหน่ง          ผู้เล่น
11        ประเทศไอร์แลนด์                   เดเมียน ดัฟฟ์
13        ฝรั่งเศส                        วิลเลียม กัลลาส
16        เนเธอร์แลนด์               อาเยน ร็อบเบน
14        แคเมอรูน                     เฌเรมี่ เอ็นจิตาป
18        อังกฤษ                        เวย์น บริดจ์
4          ฝรั่งเศส                        โคล้ด มาเกเลเล่
24        อังกฤษ                        ฌอน ไรท์ ฟิลิปส์
10        อังกฤษ                        โจ โคล
13        เยอรมนี                        มิชาเอล บัลลัค
35        บราซิล                        ฮูเลียโน เบลเล็ตติ
20        โปรตุเกส                     เดโก้
6          โปรตุเกส                     ริคาร์โด้ คาร์วัลโญ่
ผู้เล่นที่โด่งดัง

2001 - ปัจจุบัน
ชื่อ       สัญชาติ           ตำแหน่ง          เล่นให้เชลซี     จำนวนครั้ง (ตัวสำรอง)           รวม     ประตู
จิอันฟรังโก้ โซล่า        อิตาลี   FW      1996-2003       229 (44)           273      59
จิมมี่ ฟรอยด์ ฮัสเซลเบงค์        เนเธอร์แลนด์   FW      2000-2004       136 (17)           153      69
เจสเปอร์ กรุนชา          เดนมาร์ก         MF      2000-2004       104 (32)           136      7
ไอเดอร์ กุ๊ดจอห์นเซน  ไอซ์แลนด์       FW      2000-2006       186 (60)           246      54
ทอเร อังเดร โฟล         นอร์เวย์            FW      1997-2001       112 (53)           165      34
มาแซล เดอไซญี่          ฝรั่งเศส            DF       1998-2004       158 (2) 160      6
คาร์โล คูดิชินี่  อิตาลี   GK       1999-2009       142 (4) 146      0
วิลเลียม กัลลาส          ฝรั่งเศส            DF       2001-2006       159 (12)           171      12
เดเมี่ยน ดัฟฟ์   ประเทศไอร์แลนด์       MF      2003-2006       81 (18) 99        14
เฌเรมี่   แคเมอรูน         MF      2003-2007       72 (24) 96        4
โคล้ด มาเกเลเล่           ฝรั่งเศส            MF      2003-2008       144 (12)           156      2
เวย์น บริดจ์      อังกฤษ            DF       2003-2009       87 (13) 100      1
อาเยน ร็อบเบน            เนเธอร์แลนด์   MF      2004-2007       67 (16) 83        15
จอห์น ไรท์ ฟิลิปส์       อังกฤษ            MF      2005-2009       82 (39) 121      4
โจ โคล            อังกฤษ            MF      2003-2010       188 (92)           280      39
มิชาเอล บัลลัค            เยอรมนี            MF      2006-2010       139 (29)           168      26
เบลเล็ตติ         บราซิล            DF       2007-2010       54 (25) 79        5
เดโก้    โปรตุเกส         MF      2008-2010       42 (15) 57        6
ริคาร์โด้ คาร์วัลโญ่      โปรตุเกส         DF       2004-2010       233 (7) 240      10
แซม ฮันซิมสัน            อังกฤษ            DF       2006-2010       1 (3)     4          0
ผู้เล่นที่ยิงครบ 100 ประตู

พรีเมียร์ลีก-ถ้วยอื่น ๆ
ชื่อ       สัญชาติ           ตำแหน่ง          เล่นให้เชลซี     จำนวนครั้ง (ตัวสำรอง)           รวม     ประตู
แฟรงค์ แลมพาร์ด       อังกฤษ            MF      2001-ปัจจุบัน  449 (24)           473      156
ดิดิเยร์ ดร็อกบา           โกตดิวัวร์        FW      2004-2012       209 (48)           257      129
นักเตะยอดเยี่ยมประจำปี 1967-2010

Year     Winner
1967    อังกฤษ ปีเตอร์ โบเน็ตติ
1968    สกอตแลนด์ ชาร์ลี คุก
1969    อังกฤษ เดวิด เว็บ
1970    อังกฤษ จอห์น ฮอลลินส
1971    อังกฤษ จอห์น ฮอลลินส
1972    อังกฤษ เดวิด เว็บ
1973    อังกฤษ ปีเตอร์ ออสกู๊ด
1974    อังกฤษ แกรี่ ล็อก
1975    สกอตแลนด์ ชาร์ลี คุก
1976    อังกฤษ เรย์ วิลกินส์
1977    อังกฤษ เรย์ วิลกินส์
1978    อังกฤษ มิกกี้ ดรอย
           
Year     Winner
1979    อังกฤษ ทอมมี่ แลงลี่ย์
1980    อังกฤษ ไคลฟ์ วอล์กเกอร์
1981    ยูโกสลาเวีย ปีเตอร์ โบโรต้า
1982    อังกฤษ ไมค์ ฟิลเลรี่
1983    เวลส์ โจอี้ โจนส์
1984    สกอตแลนด์ แพท เนวิน
1985    สกอตแลนด์ เดวิด สปีดี้
1986    เวลส์ เอ็ดดี้ นีดสวิกกี้
1987    สกอตแลนด์ แพท เนวิน
1988    อังกฤษ โทนี่ โดริโก้
1989    อังกฤษ เกรแฮม โรเบิร์ต
1990    เนเธอร์แลนด์ เคน มองกู
1991    ประเทศไอร์แลนด์ แอนดี้ ทาวน์เซนด์
1992    อังกฤษ พอล เอลเลียต
1993    จาเมกา แฟรงค์ ซินแคลร์
1994    สกอตแลนด์ สตีฟ คลาร์ก
           
ปี         นักเตะยอดเยี่ยม
1995    นอร์เวย์ เออร์แลนด์ จอห์นเซ่น
1996    เนเธอร์แลนด์ รุด กุลลิต
1997    เวลส์ มาร์ก ฮิวส์
1998    อังกฤษ เดนนิส ไวซ์
1999    อิตาลี จิอันฟรังโก้ โซล่า
2000    อังกฤษ เดนนิส ไวซ์
2001    อังกฤษ จอห์น เทอร์รี่
2002    อิตาลี จิอันฟรังโก้ โซล่า
2004    อังกฤษ แฟรงค์ แลมพาร์ด
2005    อังกฤษ แฟรงค์ แลมพาร์ด
2006    อังกฤษ จอห์น เทอร์รี่
2007    กานา มิคาเอล เอสเซียง
2008    อังกฤษ โจ โคล
2009    อังกฤษ แฟรงค์ แลมพาร์ด
2010    โกตดิวัวร์ ดิดิเยร์ ดร็อกบา
2011    สาธารณรัฐเช็ก ปีเตอร์ เช็ค
2012    สเปน ควน มาตา
ทำเนียบผู้จัดการทีม

ปี
1933-1939 เลสลี่ ไนท์ตัน
1939-1952 บิลลี่ แบร์เรลล์
1952-1961 เท็ด เดร็ค
1962-1967 ทอมมี่ ด็อคเคอร์ตี้
1967-1974 เดฟ เซ็กตัน
1974-1975 รอน ซอวร์ต
1975-1977 เอ็ดดี้ แม็คเครดี้
1977-1978 เคน เชลลิโต้
1978-1979 แดนนี่ บลังค์ฟลาวเวอร์ส
1979-1981 เจฟฟ์ เฮิร์สต์
1981-1985 จอห์น นีล
1985-1988 จอห์น ฮอลลินส์
1988-1991 บ็อบบี้ แคมป์เบลล์
1991-1993 เอียน พอร์เตอร์ฟิลด์
1993 เดวิด เวบบ์
1993-1996 เกล็น ฮอดเดิ้ล
1996-1998 รุด กุลลิท
1998-2000 จิอันลูก้า วิอัลลี่
2000-2004 เคลาดิโอ รานิเอรี่
2004-2007 โชเซ่ มูรินโญ่
2007-2008 อัฟราม แกรนท์
2008-2009 หลุยส์ ฟิลิปเป สโคลารี
2009 กุส ฮิดดิงค์
2009-2011 คาร์โล อันเชลอตติ
2011-2012 อังเดร วิลลาส-โบอาส
2012 โรแบร์โต ดิ มัตเตโอ[9]
2012-2013 ราฟาเอล เบนีเตซ[10]
2013-2016 โชเซ่ มูรินโญ่
สัญลักษณ์ทีม

Cfcpensioner.gif
สัญลักษณ์ช่วง 1905-1952
อดีตทหารเขตเชลซี


Chelsea-history3.jpg
สัญลักษณ์ช่วง 1952-1953


Chelsea's old badge.jpg
สัญลักษณ์ช่วง 1953-1986


Chelseaoldcrest.gif
สัญลักษณ์ช่วง 1986-2005



สัญลักษณ์ช่วง 2006-ปัจจุบัน

ผลงาน

แชมป์ ดิวิชั่น 1 เดิม กับ เอฟเอ พรีเมียร์ลีก: 4 ครั้ง
1955, 2005, 2006, 2010
ฟุตบอลลีกดิวิชั่นสอง: 2 ครั้ง
1984, 1989
เอฟเอคัพ: 7 ครั้ง
1970, 1997, 2000, 2007, 2009, 2010, 2012[11] (นอกจากนี้แล้วเชลซียังเป็นทีมสุดท้ายที่ได้แชมป์เอฟเอคัพที่สนามเวมบลีย์ (เก่า) และเป็นทีมแรกที่ได้แชมป์เอฟเอคัพที่สนามนิวเวมบลีย์ (เวมบลีย์ใหม่)[12] )
ลีกคัพ: 4 ครั้ง
1965, 1998, 2005, 2007
คอมมูนิตีชิลด์ (เดิมคือ ชาริตีชิลด์)
1955, 2000, 2005, 2009
ฟูลล์ เมมเบอร์ส' คัพ
1986, 1990
ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ
1971, 1998
ยูฟ่า ซูเปอร์ คัพ
1998
เอฟเอ ยูธ คัพ
1960, 1961, 2008, 2010
รองแชมป์ฟุตบอลเอฟเอคัพ
1951, 1997, 1994
แชมป์ (มะกิตะ/อัมโบร โทรฟี่)
1994, 1997
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
แชมป์ 2012
รอบรองชนะเลิศ 2004, 2005, 2007, 2009
รองแชมป์ 2008
ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก
รองแชมป์ 2012
เวิลด์ ฟุตบอล ชาลเลนจ์
2009
สถิติ

สถิติผู้ชมสูงสุด : ในสแตมฟอร์ด บริดจ์ นัดพบกับอาร์เซน่อล ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1958 มีผู้ชมเข้ามาชมถึง 182,905 คน
สถิติผู้ชมน้อยที่สุด : ในสแตมฟอร์ด บริดจ์ นัดที่พบกับ ลินคอล์น ซิตี้ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1906 มีผู้ชมเพียง 110 คน
สถิติชนะสูงสุด : ในนัดพบกับ จิวเนส ฮัทคาเรจ ซึ่งถูกพวกเขาถลุงไปถึง 13-0 ในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1971
สถิติชนะสูงสุด : ในนัดพบกับ วีแกน แอดแลนติก ซึ่งถูกพวกเขาถลุงไปถึง 8-0 ในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ 2010
สถิติแพ้สูงสุด : ในนัดพบกับ วูล์ฟแฮมตัน วันเดอร์เรอร์ส ที่อัดพวกเขาไป 8-1 ในวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1953
ผู้เล่นในลีกสูงสุด : รอนแฮร์ริส, 655 นัด, 1962-80
สถิติซื้อนักเตะค่าตัวแพงที่สุด : 50 ล้านปอนด์, เฟร์นานโด ตอร์เรส จาก ลิเวอร์พูล, กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011
สถิติขายนักเตะแพงที่สุด : 23 ล้านปอนด์, อาร์เยน ร็อบเบน ไป เรอัลมาดริด, สิงหาคม ค.ศ. 2007
นักเตะที่ทำประตูรวมสูงสุดใน 1 ฤดูกาล :ดิดิเย่ร์ ดร็อกบา , 37 ประตู , 2009-2010
นักเตะที่ทำประตูรวมสูงสุดในช่วงที่อยู่กับเชลซี : แฟรงค์ แลมพาร์ด, 203 ประตู, 2013

ยิงประตูรวมมากที่สุดในพรีเมียร์ลีก : 103 ประตู, 2010

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น